การศึกษา
สถานศึกษาและโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม้า ดังนี้
- โรงเรียนบ้านห้วยม้า (สุนทรนิวาส)
- โรงเรียนบ้านบ้านปง (ป้อมประชานุกูล)
- โรงเรียนวัดทุ่งล้อม (ทองประชานุเคราะห์)
- โรงเรียนบ้านศรีสิทธิ์ (ใจมาอนุเคราะห์) ปัจจุบันปิดการเรียนการสอน ให้เด็กย้ายไป
ศึกษารวมกับโรงเรียนวัดทุ่งล้อม (ทองประชานุเคราะห์) - โรงเรียนห้วยม้าวิทยาคม
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบลห้วยม้า สังกัด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
อำเภอเมืองแพร่ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม้า ที่ได้ยุบรวมมาจากศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กบ้านทุ่งล้อม, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยม้า
โรงเรียนระดับประถมศึกษา มี 4 แห่ง
- โรงเรียนบ้านห้วยม้า (สุนทรนิวาส) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านห้วยม้า
- โรงเรียนบ้านปง (ป้อมประชานุกูล) ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านปง
- โรงเรียนวัดทุ่งล้อม (ทองประชานุเคราะห์) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งล้อม
- โรงเรียนบ้านศรีสิทธิ์ (ใจมาอนุเคราะห์) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านศรีสิทธิ
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนห้วยม้าวิทยาคม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 บ้านห้วยม้า
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนต าบลห้วยม้า ตั้งอยู่ พื้นที่ที่ท าการ
องค์การบริหารส่วนต าบลห้วยม้า
สาธารณสุข
โรงพยาบาล 2 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยม้า (บ้านศรีสิทธิ์) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านศรีสิทธิ์ตำบลห้วยม้า
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยฮุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านห้วยฮุง ตำบลห้วยม้า
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ าร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีจำนวน 209 คน
อาชญากรรม
(1) จำนวนผู้เสียชีวิตโดยอุบัติเหตุจากรถยนต์ จำนวน – คน
(2) ความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่เกิดจากมนุษย์ และจากธรรมชาติ จำนวน – บาท
(3) จำนวนคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และประชาชน จำนวน – คดี
(4) จำนวนคดีเสียชีวิต ร่างกาย และเพศ จำนวน – คดี
(5) จำนวนอุบัติเหตุจากรถยนต์ จำนวน – ครั้ง
ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ในพื้นที่พบว่า ยังมีประชาชนที่ลักลอบค้า/เสพยาเสพติด ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนที่ยังมีการลักลอบเสพยาเสพติดและประชาชนวัยแรงงาน ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ไม่รุนแรง และยังต้องมีการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
การสังคมสงเคราะห์
1.ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ จำนวน 1,219 คน
-แยกตามช่วงอายุ
อายุ 60 ปี จำนวน 630 คน
อายุ 70 ปี จำนวน 424 คน
อายุ 80 ปี จำนวน 149 คน
อายุ 90 ปี จำนวน 15 คน
2.ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายผู้พิการ จำนวน 246 คน
3.ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 9 คน
การนับถือศาสนา
1) ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
2) วัด จำนวน 5 วัด ดังนี้ วัดสุนทรนิวาส , วัดพงชัย , วัดทุ่งล้อม , วัดศรีสิทธิ์ , วัดวังเย็น
3) ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ – ของจำนวนประชากรทั้งหมด
4) มัสยิด จำนวน – แห่ง
5) ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.75 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
6) โบสถ์ จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ คริสต์จักรร่มพระคุณ
7) ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ – ของจำนวนประชากรทั้งหมด
8) ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดเลย ร้อยละ – ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ประเพณีและงานประจำปี
1) พิธีสืบชะตา เป็นพิธีกรรมที่จะทำขึ้นเมื่อมีเคราะห์ อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มหรือสืบชะตาบ้านเมือง แม่น้ำ ต้นไม้ วัว ควาย สัตว์เลี้ยงที่อำนวยประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเพื่อช่วยต่อชีวิตให้ยืนยาว พ้นจากความเดือดร้อนและภัยพิบัติต่าง ๆ
2) พิธีสงเคราะห์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่าคนเราอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาว นพเคราะห์เมื่อมีเคราะห์ร้ายหรือบาดเจ็บจึงต้องทำพิธีบวงสรวงเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ดวงนั้น ๆ
3) พิธีตานตุงแดง เป็นพิธีกรรมที่ทำให้แก่ คนตายโหง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายโดยจัดทำตุง (ธง) สีแดงสด พร้อมอาหารเครื่องเส้นสรวง กองทราย ตุงช่อ ไก่ขาว แล้วนิมนต์พระไปสวดทำพิธี ณ บริเวณที่คนนั้นตาย เป็นการถอนวิญญาณให้ไปเกิดใหม่ หรือไปเสียจากบริเวณนั้น
4) พิธีบูชาเทียน หรือ ปูจาเตียน เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการสงเคราะห์อย่างหนึ่ง ทำโดยการนำเทียนขี้ผึ้งแท้ 3 เล่ม ไส้เทียนทำด้วยด้ายสีขาว จำนวนเส้นด้ายเท่ากับอายุของผู้บูชาเทียนให้พระเป็นผู้ทำพิธีจุดเทียนหน้าพระพุทธรูปที่วัดหรือที่บ้าน เพื่อให้เกิดโชคลาภแก่ผู้บูชา
5) พิธีฮ้องขวัญ หรือ สู่ขวัญ เป็นพิธีกรรมที่ทำให้กับคนที่ฟื้นไข้ใหม่ๆ โดยมีหมอขวัญ ทำพิธีทำพิธีให้มีเครื่องประกอบพิธี เช่น หมาก เทียน ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวสาร เงินบาท เหรียญบาท อาหารคาวหวาน เสื้อผ้าของผู้ป่วยและไข่ต้ม นอกจากนี้ยังอาจจะทำเพื่อเรียกขวัญข้าว ขวัญวัว ขวัญช้าง ขวัญนาค
6) พิธีเลี้ยงผีปู่ผีย่า เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ หรือ ผีประจำตระกูล เพื่อคอยปกปักรักษาลูกหลานให้อยู่เป็นสุข มักทำเป็นประจำทุกปี เป็นเวลา 1 วัน ราวเดือน 5 หรือ เดือน 6 เหนือ โดยเชิญผีปู่ย่ามาเข้าร่างคนทรง ให้ลูกหลานมากราบไว้ขอพร และเลี้ยงอาหาร ในพิธีจะมีดนตรีพื้นเมืองมาบรรเลง เช่น วงสะล้อ ซอซึง
7) ประเพณีปี๋ใหม่เมือง เป็นประเพณีสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 3 – 17 เมษายนของทุกปี มีกิจกรรมในแต่ละวัน คือ (1) วันที่ 13 เมษายน เรียกว่าวันสังขารล่อง ตอนเช้ามืดจะมีการจิสะโป้ก (จุดพลุเสียง ซึ่งทำด้วยปล้องไม้ไผ่ ) เพื่อไล่สังขาร ช่วงกลางวันจะทำความสะอาดร่างกายสระผม ซักเสื้อผ้า ทำความสะอาดบ้านเรือนและทำพิธีขอขมา ไหว้ธรณีประตู หม้อข้าว เตาไฟ ฯลฯ ในบ้านของตน (2) วันที่ 14 เมษายน เรียกว่าวันเนาว์ เป็นวันทำบุญตักบาตรที่วัดและอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ (ภาษาถิ่นเรียกว่า“ไปตานสะป้อก”) ตอนบ่ายขนทรายเข้าวัดในวันนี้ห้ามกล่าวคำหยาบหรือคำที่ไม่เป็นมงคล (3) วันที่ 15 เมษายน เรียกว่าพญาวัน ตอนเช้าไปทำบุญที่วัด ตอนสายทำพิธีดำหัวญาติผู้ใหญ่ ตอนบ่ายสรงน้ำพระที่วัด (4) วันที่ 16 เมษายน เรียกว่าวันปากปี เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่มีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตากันที่วัด (5) วันที่ 16 เมษายน เรียกว่าวันปากเดือน ถือเป็นวันเสร็จสิ้นภารกิจ จึงมีการฉลอง ปีใหม่กันอย่างสนุกสนานครื้นเครง มีขบวนแห่และการละเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ
8) ประเพณีกิ๋นสลาก หรือการถวายสลากภัต หรือตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีการให้ทานตามกาลเวลาที่กำหนด ไม่เจาะจงว่าให้แก่พระภิกษุรูปใด จัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยง (กันยายนถึงพฤศจิกายน)
9) ประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ภาษาถิ่นเรียกว่า ประเพณียี่เป็ง ช่วงเช้า มีการทำบุญตักบาตรและปล่อยโคมลอย ฟังเทศน์ทำนองพื้นเมือง 16 กัณฑ์ คือ เทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ เทศน์พระมาลัยต้น 1 กัณฑ์ เทศน์พระมาลัยปราย 1 กัณฑ์ และเทศน์อานิสงส์ผางประทีป 1 กัณฑ์ จบภายใน 1 วัน และมีการจุดดอกไม้เพลิง (บอกไฟดอก) ถวายเป็นพุทธบูชาด้วย กลางคืน มีการลอยกระทง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์วิธีหนึ่ง โดยอธิษฐานก่อนปล่อยกระทงลงน้ำว่า “ ขอให้เคราะห์ร้ายทั้งหลาย จงดับไปกับไฟ ไหลไปกับน้ำ ”
10) ประเพณีเข้าพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เหนือ ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือ ( เดือน 11 ภาคกลาง ) ชาวบ้านทั้งหลายจะพากันไปทานขันข้าวหาคนตาย รวมทั้งการทานแด่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ และใส่บาตร รับศีล ตอนกลางคืนมีการถวายเทียนพรรษา ก่อนจะถึงวัน หรือเวลาถวายเทียน มักจะมีการแห่เทียนพรรษาไปตามหมู่บ้านเป็นที่สนุกสนาน ในช่วงเข้าพรรษาชาวบ้านส่วนใหญ่จะไปทำบุญกันทุกวันพระ มีการฟังเทศน์ ฟังธรรม สำหรับ คนทั่วไปบางคนตั้งใจในการงดเว้นบาป และถือศีล เช่นรักษาศีลตลอดพรรษา งดเว้นดื่มสุรา งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดพรรษา
11) ประเพณีออกพรรษา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยง ( เดือน 11 ภาคกลาง ) ก่อน วันออกพรรษาหนึ่งวันซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ชาวบ้านจะมีการทำอาหาร ขนม เพื่อนำไปทำบุญ ตักบาตรเทโวในวันนี้พระสงฆ์จะทำพิธีทางศาสนาในพระอุโบสถตอนรุ่งอรุณ หมู่พระสงฆ์จะเดินออกมาจากพระอุโบสถ ระหว่างที่พระสงฆ์เดินเรียงมานี้ ชาวบ้านผู้ทำบุญก็จะทำพิธีใส่บาตรด้วยข้าวสุกบ้าง ข้าวต้มบ้าง ขนมที่เตรียมไว้บ้างซึ่งปัจจุบันนิยมใส่ด้วยข้าวสารอาหารแห้ง พอสาย ๆ ชาวบ้านจะทำบุญที่เรียกว่า ทานขันข้าว ให้กับญาติที่ตายไป